เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด By ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์
  • รีวิวเว้ย (1510) มีคนเคยบอกเอาไว้ว่าเมืองที่มีชีวิตคือเมืองที่มีผู้คนและกิจกรรมเกิดขึ้นภายในเมือง ดังนั้นในปัจจุบันเราจึงจะเห็นการแบ่งเมืองออกเป็นหลายรูปแบบตามการใช้งานของเมือง ทั้งเมืองท่องเที่ยว เมืองการศึกษา เมืองทำงาน เมืองพักอาศัย และเมืองในรูปแบบที่ยำรวมกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นรวมไว้ในเมืองเพียงเมืองเดียวอย่าง "กรุงเทพฯ" และด้วยความเป็นเมืองที่มีกิจกรรมหลากหลาย คนที่หลั่งไหลเข้าเมืองมีหลายหลายและมากมายเป็นลำดับ แน่นอนว่าการมีคนมากกิจกรรมมากย่อมนำมาซึ่งปัญหาต่าง ๆ ของเมือง ทั้งเรื่องความสะอาด ความปลอดภัย ความเหมาะสม ปัญหามลพิษ และรวมไปถึงปัญหาเรื่องความแออัดของเมือง กระทั่งในหลายครั้งมันนำไปสู่ความเละเทะและความ "เรี่ยราด" ของเมือง ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียให้บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรวมกันหาวิธีจัดการกังความเละเทะและความเรี่ยราดเหล่านั้น
    หนังสือ : สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด
    โดย : ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์
    จำนวน : 208 หน้า
    .
    "สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด" ในชื่อภาษาอังกฤษว่า "365 Days of Thai Urban Mess Architecture" เป็นหนังสือที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการเดินเท้าเพื่อบันทึกเรื่องราวของสิ่งมหัศจรรย์ของเมืองกรุงเทพฯ (และเมืองไทย) ผ่านมุมมองที่หลายคนมองมันในฐานะของสิ่งสกปรก มลภาวะทางสายตา ความเละเทะและความเรี่ยราด หากแต่ความพยายามในการนำเสนอเรื่องราวใน "สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด" คือการคลี่กางความเรี่ยราดเหล่านั้นให้ผู้อ่านได้เห็นองค์ประกอบและความสร้างสรรค์บางประการผ่านสายตาของผู้ศึกษาวิชาสถาปัตยกรรม
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด" แบ่งออกเป็น 13 หมวดหมู่ของความ "เรี่ยราดอย่างสร้างสรรค์" ที่ผู้เขียนได้เดินเท้า ถ่ายภาพ และวาดมันออกมาใหม่ผ่านสายตาของนักออกแบบ ที่ให้ความสำคัญและความใส่ใจต่อการออกแบบการใช้งานทางสถาปัตยกรรมจากสิ่งของเครื่องใช้ที่คนชาติไหนก็คงคาดไม่ถึงเว้นแต่คนชาติไทย ที่จะหยิบเอาของเหลือใช้จากไม้ไผ่ ท่อ PVC รูตามเสาไฟ แผ่นกระเบื้องทางเท้า ตะกร้าขนมจีน กิ่งไม้ สายไฟ ป้ายจราจร และอีกสารพัดสิ่งที่ถูกหยิบมาออกแบบ และลงมือทำให้เป็นข้าวของเครื่องใช้และพื้นที่สำหรับการใช้งานของผู้คน ที่เรามักเห็นมันจนชินตาแล้วเราก็เลือกที่จะละเลยและมองข้าม
    .
    แน่นอนว่าหลายสิ่งที่ปรากฏใน "สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด" อาจจะไม่ใช้สิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายในเรื่องของความสะอาด สว่าง สงบ รวมถึงการใช้พื้นที่สาธารณะ และการออกแบบเมือง หากแต่ถ้าเราอ่าน "สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด" ให้ลึกลงไปกว่าเรื่องของสิ่งของ เราจะพอมองเห็น "วิถีชีวิตของผู้คน" และ "วิถีชีวิตของเมือง" ที่ผสานและอาศัยอย่างถ้อยทีระหว่างกันภายใต้ความเรี่ยราด อันเป็นมรดกตกทอดจากการขยายตัวของเมืองโดยขาดการวางแผนและวางผังเมืองให้สอดรับกับวิถีชีวิตของผู้คนและวิถีชีวิตของเมือง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in