รีวิวเว้ย (1860) ช่วงนี่เห็นข่าวเกี่ยวกับวงการพระก็อดแปลกใจไม่ได้ว่าที่ผ่านมาศาสนา (พุทธ) ไทยนั้นสอนอะไรกัน เพราะหน้าฉากที่เห็นกันอยู่จนคุ้นชินศาสนานี้สอนให้คนปล่อยวาง ลด ละ ความอยากได้ใคร่มี แต่เหตุใดศาสนาไทยดูจะเดินไปในทางตรงข้ามกับคำสอนของสมณโคดม โดยจะเห็นว่าพระในศาสนาไทยต่างนิยมสะสมความมั่งคั่ง นิยมสะสมตำแหน่ง (สมณศักดิ์ ซึ่ง สมณะ ดันแปลว่าผู้ละแล้ว/สงบแล้วซึ่งกิเลศ) และนิยมให้คนยกย่องสถานะอันสูงส่งของพระในศาสนาไทยอยู่เสมอ ซึ่งดูจะแตกต่างจากแนวทางที่พุทธองค์เคยปฏิบัติแลตรัสไว้ ในหลายปีมานี้เห็นข่าวของพระในศาสนาไทยและคนที่นับถือศาสนาไทยก็ได้แต่สงสัยว่าหากพระพุทธเจ้ายังอยู่หรือรับรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น ท่านจะรู้สึกอย่างไรเมื่อพุทธ (ไทย) สาวกของท่านตีความคำสอนและบิดมันเพื่อสร้างผลประโยชน์สนองกิเลสตัญหาส่วนตน และฉวยใช้สถานะของความเป็นพระในการสร้างกิเลสในรูปแบบต่าง ๆ
หนังสือ : จากลังกาสู่ล้านนา : อำนาจ คณะสงฆ์ และการณ์พระราชอาณาจักร
โดย : จักรกฤษณ์ วิทย์สุภาเลิศ
จำนวน : 36 หน้า
.
"จากลังกาสู่ล้านนา : อำนาจ คณะสงฆ์ และการณ์พระราชอาณาจักร" หนังสือเล่ม (ที่จะขอเรียกว่าบทความ) ที่บอกเล่าเรื่องของการเดินทางของพุทธศาสนาจากอินเดีย สู่ลังกา และมาสู่ล้านนา ที่ตลอดการบอกเล่าของ "จากลังกาสู่ล้านนา : อำนาจ คณะสงฆ์ และการณ์พระราชอาณาจักร" จะเห็นถึงความขัดแย้ง ความพยายามในการแย้งชิงกลุ่มลูกค้า และความพยายามในการสถาปนาเพื่อบอกให้โลกรู้ว่า "กูเนี่ยของแท้" หรือ "กูนี่แหละพุทธแท้" ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าปัญหาของการแย่งชิง บิดเบือน และสร้างความชอบธรรมของพุทธศาสนาแต่ละแห่งมีมาตั้งแต่หลายพันปีมาแล้วนับตั้งแต่วันที่สมณโคดมดับขันธ์ปรินิพพาน และยังคงมีต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน
.
"จากลังกาสู่ล้านนา : อำนาจ คณะสงฆ์ และการณ์พระราชอาณาจักร" แสดงให้เห็นถึงพลวัตความขัดแย้งภายใต้การขยายอำนาจของพุทธศาสนาทั้งจากอินเดียสู่ลังกา และจากลังกาสู่ล้านนา ที่เมื่อเข้าสู่ล้านนาแล้วพุทธศาสนาได้กลายมาเป็นกลไกของรัฐในการสร้างความชอบธรรมในการครอบงำรัฐผ่านวิถีปัฏิบัติของความเชื่อทางด้านศาสนา และจุดนี้เองจะเริ่มเก็นข้อขัดแย้งของศาสนาพุทธแต่ละสำนักเมื่อเข้าสู่ล้านนา ในรูปของการเปลี่ยนแปลงจากพุทธสู่ศาสนาไทย และความพยายาในการรักษาความเชื่อให้พุทธเป็นพุทธ การสู้กันของชุดความเชื่อ 2 แบบในล้านนา คือการสู้กันภายใต้การถูกดึงและพยายามดึงให้อาณาจักรของเจ้าผู้ปกครองดินแดนเข้ามาเป็นพวก ดังนั้นไม่แปลกที่จะเห็นสถานะของพุทธศาสนาในสังคมไทยปัจจุบันมีหน้าตาออกมาดังเช่นที่เป็นอยู่ และไม่น่าแปลกใจที่จริตของคนนับถือศาสนาไทยถึงได้เดินทางมาไกลนับจากวันที่ สิทฺธารฺถ เคาตมะ ดับขันธ์ปรินิพพาน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in