เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม: ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสฯ By ปิยดา ชลวร
  • รีวิวเว้ย (1816) ประวัติศาสตร์ของรัฐ นับเป็นผลผลิตหนึ่งที่ถูกใช้ในฐานะของเครื่องมือในการสร้างชาตินับตั้งแต่ครั้งที่เป็นชาติสยามกระทั่งพัฒนามาเป็นชาติไทย กระทั่งเป็นไทยในปัจจุบัน กลไกของการสร้างชาติยังปรากฎชัดผ่านการผลิตซ้ำผ'านข้อความ ความเชื่อและแนวคิดในการสร้างคสามเป็นอื่นให้กับคู่ตรงข้าม อาทิ พวกชังชาติ, พวกไม่รักดี หรือกระทั่งพวกมึงไม่ใช่ไทย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงใช้ได้ดีในสังคมไทยปัจจุบัน ทั้งการผลิตซ้ำ การสร้างความเกลียดชังผ่านการสร้างคู่ตรงข้ามและความเป็นอื่น เมื่อการแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกันอยู่บนฐานของการตั้งแง่ระหว่างกันการแลกเปลี่ยนกันด้วยความมีเหตุมีผลเป็นไปได้ยาก
    หนังสือ : ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม: ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในยุคเจ็ดหัวเมือง
    โดย : ปิยดา ชลวร
    จำนวน : 191 หน้า
    .
    "ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม: ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในยุคเจ็ดหัวเมือง" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของประวัติศาสตร์ของหัวเมืองทางใต้ของสยามที่ในปัจจุบันหลายคนยังเชื่อว่ามีดินแดนบางส่วนในพื้นที่บริเวณนี้ที่สยาม-ไทยเสียให้กับต่างชาติ เพราะถูกบังคับขู่เข็ญให้ยอมสละดินแดนบางส่วนเพื่อรักษาอธิปไตยของประเทศเอาไว้ ซึ่งมีหนังสือหลายเล่ม (งานวิชาการหลายชิ้น) ที่พูดถึงเรื่องของการเสียพื้นที่หัวเมืองทางใต้ว่าแท้จริงแล้วอาจจะไม่ได้เป็นไปตามแบบที่แบบเรียนชาตินิยมของกระทรวงศึกษาบอกเอาไว้ หรือที่กระทรวงบอกไว้ก็อาจจะบอกไม่หมดในบางเรื่องที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฎชัด 
    .
    ในส่วนของหนังสือ "ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม: ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในยุคเจ็ดหัวเมือง" หยิบเอาเรื่องราวของเจ็ดหัวเมืองมาขยายให้เห็นภาพและบริบทของการเปลี่ยนแปลงในเชิงพื้นที่ ตั้งแต่ยุคก่อนการเข้าไปมีบทบาทของสยามโดยเฉพาะบทบาทในช่วงการเข้าไปในสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีการเข้าไปเปลี่ยนแปลงรูปแบบและวิถีบางประการของพื้นที่และผู้คน ไล่มากระทั่งสมัยการปฏิรูปประเทศที่มีการวางระบบมณฑล ที่นับเป็นสร้างข้อขัดแย้งบางประการที่สำคัญในพื้นที่
    .
    นอกเหนือไปจากเรื่องราวของความเป็นมาแล้ว ในหนังสือ "ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม: ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในยุคเจ็ดหัวเมือง" ยังได้พูดถึงเรื่องของการประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรมในพื้นที่ ที่หลายครั้งนำพามาสู่การวางโครงสร้างของสังคมในพื้นที่อีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจากความรับรู้ในเรื่องของพื้นที่ตามที่ปรากฎในแบบเรียนหรือในเอกสารของทางราชการ ทั้งเรื่องของการทำเหมือง คนจีนในพื้นที่ และการสร้างกฎเกณฑ์ กฎหมายที่มีกลไกและการบังคับใช้ที่แตกต่างกันไปในพื้นที่เจ็ดหัวเมือง โดยเนื้อหาของหนังสือประกอบไปด้วย
    .
    บทนำ: ใครสร้างประวัติศาสตร์ ใครลบประวัติศาสตร์ 
    .
    บทที่ 1 ปัตตานีในยุคเจ็ดหัวเมือง
    .
    บทที่ 2 การปฏิรูปกฎหมายและการศาล
    .
    บทที่ 3 การสร้างอำนาจของสยามในหัวเมืองชายขอบ
    .
    บทที่ 4 เหมืองดีบุกและชุมชนจีน
    .
    บทที่ 5 การยกดินแดนและแบ่งเขตแดนสยาม-บริติชมลายา
    .
    บทที่ 6 ส่วย ภาษีและผลประโยชน์ของเจ้าเมือง
    บทส่งท้าย
    .
    อีกทั้ง "ประวัติศาสตร์ที่ถูกลืม: ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในยุคเจ็ดหัวเมือง" ยังช่วยให้เราเข้าใจภาพอดีตของความขัดแย้งบางประการของพื้นที่ที่เรียกได้ว่าเป็น "มรดก" ของความไม่พอใจต่อรัฐบาลกลางอย่างสยาม-ไทย ที่เคยได้สร้างความทรงจำ ความขัดแย้ง และปัญหาทางประวัติศาสตร์ทิ้งเอาไว้ในพื้นที่ และในปัจจุบันหลายครั้งก็ยังเป็นรัฐเสียเองอีกนั้นแหละที่เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของชนวนปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ที่มิติทางประวัติศาสตร์ซ้อนทับอยู่กับหัวเมืองทั้งเจ็ดในครั้งอดีต
    .
    หมายเหตุ: ปรับปรุงจากการรีวิวครั้งแรก เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2563

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in