รีวิวเว้ย (1853) การเกิดขึ้นของสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648 ได้สร้างสิ่งใหม่ของช่วงเวลานั้นทั้งการเกิดขึ้นของสนธิสัญญาที่นับเป็นนวัตกรรมทางการทูตของประวัติศาสตร์ และเนื้อหาของสนธิสัญญาที่เป็นการปูพื้นฐานไปสู่การเกิดขึ้นของรัฐชาติสมัยใหม่ในยุโรป ก่อนจะแพร่กระจายไปในภูมิภาคอื่น ๆ กระทั่งนำมาสู่แนวคิดในเรื่ององค์ประกอบของรัฐ (Elements of a State) ที่ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ได้แก่ ประชากร (Population) ดินแดน (Territory) รัฐบาล (Government) และอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ที่กลานมาเป็นพื้นฐานในตำราเรียนหลายเล่มว่ารัฐจะต้องประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบจึงจะมีสถานะเป็นรัฐ และด้วยการเกิดขึ้นของการกำหนดขอบเขตของรัฐที่ชัดเจนนี้เองที่นำมาสู่ปัญหา และกลายมาเป็นการศึกษาสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์

หนังสือ : ภูมิรัฐศาสตร์ พลวัตจากโลกยุคอาณานิคมถึงยุคปัจจุบัน
โดย : ธนเชษฐ์ วิสัยจร
จำนวน : 341 หน้า
.
"ภูมิรัฐศาสตร์ พลวัตจากโลกยุคอาณานิคมถึงยุคปัจจุบัน" หนังสือ ตำรา เอกสารคำสอน (ไม่แน่ใจว่าจะเรียกว่าอะไร) ว่าด้วยเรื่องของ "ภูมิรัฐศาสตร์" โดยนำเสนอมุมมองต่อภูมิรัฐศาสตร์ ออกเป็น 2 แนวทางของการศึกษาภูมิรัฐศาสตร์ ได้แก่ (1) ภูมิรัฐศาสตร์คลาสสิค ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของการขยายดินแดน ขอบเขตพื้นที่ที่ปรากฏอีกทั้งทนัพยากรธรรมชาติและรวมไปถึงบูรณภาพเหนือเขตแเนของรัฐต่าง ๆ และ (2) ภูมิรัฐศาสตร์เชิงวิพากษ์ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของอุดมการณ์ทางกานเมืองที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐที่มีผลต่อการดำเนินนโยบายเรื่องดินแดนและทรัพยากรณ์ในอาณาบริเวณต่าง ๆ
.
ด้วยการที่ "ภูมิรัฐศาสตร์ พลวัตจากโลกยุคอาณานิคมถึงยุคปัจจุบัน" ถูกเขียนขึ้นในลักษณะของตำรา ทำให้ในส่วนต้นของแต่ละบทจะมีวัตถุประสงค์ของบทนั้น ๆ ที่บอกกำกับไว้ว่าเนื้อหาในแต่ละบทบอกเล่าและมีวัตถุประสงค์อย่างไร อีกทั้งในส่วนท้ายของทุกบทจะมีคำถามท้ายบทและคะแนนในแต่ละข้อคำถามกำกับไว้ ว่าถ้าตอบคำถามได้จะได้กี่คะแนน โดยที่เนื้อหาของ "ภูมิรัฐศาสตร์ พลวัตจากโลกยุคอาณานิคมถึงยุคปัจจุบัน" แบ่งไว้ 15 บท ดังนี้
.
บทที่ 1 นิยามและความสำคัญของวิชาภูมิรัฐศาสตร์
.
บทที่ 2 วิชาภูมิรัฐศาตร์กับการล่าอาณานิคมในอดีต
.
บทที่ 3 อาณาเขตและอำนาจรัฐ: การจัดการทรัพยากร การเขียน และการอ่านแผ่นที่สมัยใหม่
.
บทที่ 4 รัฐ และกับดักเส้นเขตแดน
.
บทที่ 5 ลัทธิมอนโรและการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของสหรัฐ
.
บทที่ 6 ภูมิรัฐศาสตร์กับลัทธิฟาสซิสต์ในยุโรปและญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
.
บทที่ 7 ภูมิรัฐศาสตร์ของไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง
.
บทที่ 8 ภูมิรัฐศาสตร์ในวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
.
บทที่ 9 ภูมิรัฐศาสตร์โลกในยุคสงครามเย็น
.
บทที่ 10 ภูมิรัฐศาสตร์สงครามเย็นในอินโดจีน
.
บทที่ 11 ภูมิรัฐศาสตร์ในยุคหลังสงครามเย็น: เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมในยุคโลกาภิวัฒน์
.
บทที่ 12 ภูมิรัฐศาสตร์ว่าด้วยสิ่งแวดล้อม
.
บทที่ 13 ภูมิรัฐศาสตร์ยุคหลังสงครามเย็น: ยุคโลกาภิวัฒน์ในกลุ่มประเทศอินโดจีน
.
บทที่ 14 ภูมิรัฐศาสตร์แนววิพากษ์
.
บทที่ 15 เหตุการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศร่วมสมัยที่สำคัญ
.
"ภูมิรัฐศาสตร์ พลวัตจากโลกยุคอาณานิคมถึงยุคปัจจุบัน" ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยลักษณะของการเขียนที่เป็นกึ่งตำราที่เนื้อหามาจากการสอนในห้องเรียน ทำให้เนื้อหาในแต่ละบทของ "ภูมิรัฐศาสตร์ พลวัตจากโลกยุคอาณานิคมถึงยุคปัจจุบัน" ถูกร้อยเรียงขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาของภูมิรัฐศาสตร์ได้ คล้ายกับการออกแบบการสอนวิชาภูมิรัฐศาสตร์ในระยะเวลา 15 สัปดาห์ของภาคการศึกษาหนึ่ง ๆ ในระดับมหาวิทยาลัย
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in